23 มีนาคม 2449

ไทยเสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส คือ เมืองศรีโสภณ เสียมราฐ พระตะบอง ซึ่งเป็นอาณาเขต ของประเทศเขมรสมัยนี้ ตามสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสฉบับ 23 มี.ค. 2449 เพื่อให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดตราด เกาะกง ด่านซ้าย ตลอดจนการได้มาซึ่งอำนาจศาลไทย ที่จะบังคับต่อคนในบังคับฝรั่งเศสในประเทศไทย คำว่า คนในบังคับฝรั่งเศสที่อยู่ในไทยขณะนั้น คือคนที่ไปอาศัยร่มธงฝรั่งเศส เพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจศาลไทย ส่วนมาก เป็นคนจีน คนญวน ทั้งนี้ เพื่อสิทธิการค้าขายบางอย่าง นับเป็นเรื่องขมขื่นแก่ชาวไทยสมัยนั้นเป็นอันมาก คนจีน สมัยนั้นสมัครเข้าเป็นคนในบังคับฝรั่งเศสกันมาก เพื่อประโยชน์ดังกล่าวในเวลาซื้อของถ้าต่อรองราคาไม่เป็นที่ พอใจ ก็หาเหตุวิวาทกับคนไทย ตำรวจไทยจะจับก็อ้างร่มธงของฝรั่งเศสคุ้มครอง การที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นธรรมดา ของชาวจีน ซึ่งฉลาดและเลือกโอกาสและวิธีการ เพื่อประโยชน์ของตนถ่ายเดียว ตราบใดที่อำนาจปกครอง แผ่นดินยังอยู่กับไทยอยู่ก็ไม่เป็นไร ถ้าหากอธิปไตยผันแปรไป พวกที่หาประโยชน์ส่วนตัวก็จะซ้ำเติมคนไทย เหมือนในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ได้ถอนทหารออกจากจังหวัดตราดไปเมื่อ 6 ก.ค. 2450 แต่ก็ไม่ได้คืนเกาะ จน กระทั่งบัดนี้ บ้านป่าเมืองดอยให้ไทย ขณะนั้นพระพุทธเจ้าหลวง (ร.5) กำลังเสด็จกลับจากยุโรป ก่อนที่จะเสด็จ ถึงพระนคร ได้โปรดเกล้า ฯ เสด็จไปแวะเยี่ยมปลอบขวัญชาวจังหวัดตราด เมื่อ 13 พ.ย.2450 ซึ่งนับว่าได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แก่ชาวตราดเป็นอย่างยิ่ง ฝรั่งเศสมีความตั้งใจอันแน่วแน่จะยึดดินแดนของไทยในภาคอิสานให้หมด เพราะดินแดนนอกสัญญา ฉบับ 20 ม.ค. 2438 ซึ่งฝรั่งเศสทำไว้กับอังกฤษที่กรุงลอนดอน ซึ่งกำหนดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำอิง (แม่น้ำกกด้วย) เป็นดินแดนกันชน ซึ่งภาคอิสานอยู่นอกขอบเขตของสัญญานี้ ฝรั่งเศสตั้งใจเอาให้หมด เพราะ ปรากฏหลักฐานความทรงจำของ มร.เอช. อาริงตัน สมิท ในเรื่องไฟฟ์เยีย อินไซแอม ความว่า มร. โซเซ่ต กงสุล ฝรั่งเศสประจำเมืองนครราชสีมาเมื่อ พ.ศ.2446 ได้กล่าวไว้เช่นนั้น นอกจากนั้นยังเที่ยวชักจูงคนจีนในโคราชให้ เข้ามาอยู่ในร่มธงฝรั่งเศส โดยขายทะเบียนการเปลี่ยนสัญชาติ แผ่นละ 18 บาท เพื่อได้สิทธินอกกฎหมายไทย ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านั้นเป็นข้าแผ่นดินไทย แต่เคราะห์ดีที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงได้ไหวทัน ทรงส่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มี กรมหลวง พิชิตปรีชากร กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ไปกำกับทางภาคอิสานเสียก่อน มิฉะนั้นภาคอิสานทั้งภาคก็คงจะเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรลาวไปแล้ว ดินแดนที่เป็นลาว เขมร และญวน นั้น ได้ตกเป็นของฝรั่งเศสไม่ถึง 100 ปี นับตั้งแต่เสียเมืองไซ่ง่อนปี 2402 เสียตังเกี๋ยเมื่อ พ.ศ. 2426 อิทธิพล ฝรั่งเศสได้หมดความหมายเมื่อสงครามชิงเมืองเดียนเบียนฟูสิ้นสุดลง เมื่อ 1 พ.ค. 2497 โดยกองทหารของ โฮจิมินห์ ฝรั่งเศสต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในการกู้อินโดจีนด้วยงบประมาณมหาศาล

23 มีนาคม 2492

มีพระบรมราชโองการ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ซึ่งใน พระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คณะอภิรัฐมนตรี ในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ตราไว้ ณ วันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2492 เป็นปีที่ 4 ในรัชกาลปัจจุบัน ประกาศความพระราชปรารภ ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาค 2492 พรรษา ปัจจุบันสมัยจันทรคตินิยม อุสภสมพัตสร ผัคคุณมาส กาฬปักษ์ ทศมีดิถี สุริยคติกาล มีนาคมมาส เตวีสติมสุรทิน พุธวาร โดยกาลบริจเฉท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศความ พระราชปรารภว่า จำเดิมแต่สมเด็จพระบรมปิตุลาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ณ วันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 สถาปนาระบอบการปกครองประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยแล้วนั้น เหตุการณ์บ้านเมืองได้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ จำต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อนุโลมตามกาลนิยม จึง ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489 ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา อานันทมหิดล ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใช้แทน รัฐธรรมนูญฉบับเดิม ครั้นต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน บังเกิดความจำเป็นต้องเลิกใช้รัฐธรรมนูญฉบับนั้น จึง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2490 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้ตรารัฐธรรมนูญขึ้นใช้เป็นการถาาวรสืบไป และอนุโลมตามแบบแผนฝ่ายปรสมัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติการของไทย ประกอบด้วยสมาชิกสี่สิบคน ซึ่งรัฐสภาเลือกตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาสิบคน จากสมาชิกสภาผู้แทนสิบคน และจากบุคคล ภายนอกผู้มีคุณสมบัติต่าง ๆ กันสี่ประเภทประเภทละห้าคน ครั้น ณ วันที่ 12 กรกฏาคม พุทธศักราช 2491 ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปิดสภาร่างรัฐธรรมนูญ และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สภาร่างรัฐธรรนูญได้ ดำเนินการพิจารณาปรึกษาวางหลักการใหญ่ ๆ อันสมควรประมวลไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นต้นว่า วางหลักประกันสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทยให้มั่นคงยิ่งขึ้น กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐเพื่อช่วยรักษาไว้ซึ่งความต่อเนื่องกันโดย สม่ำเสมอในการบริหารราชการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาบางประการ ขยายอำนาจ รัฐสภาในอันที่จะควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินปรับปรุงวิธีการเพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารได้ฟังความ คิดเห็นของกันและกันได้โดยกว้างขวาง กับทั้งแก้ไขอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ความไว้วางใจฝ่าย บริหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อจะได้ฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบการร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าฟังการประชุมปรึกษาของรัฐสภาได้ตลอดมา กับทั้งได้เลือกสมาชิกของสภาเก้าคนตั้ง เป็นกรรมาธิการ มีหน้าที่สดับตรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แล้วนำเสนอต่อสภา ทั้งเพื่อให้การร่างรัฐธรรม เป็นไปด้วยดี สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เลือกสมาชิกอีกเก้าคน ตั้งเป็นกรรมาธิการ มีหน้าที่พิจารณายกร่างกรรมาธิการ ได้ยกร่างขึ้นตามหลักการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญได้วางไว้ และได้ตรวจพิจารณาบทรัฐธรรมนูญฉะบับพุทธศักราช 2475 ตลอดทั้งที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมต่อ ๆ มาจนถึงฉะบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เมื่อเห็นว่าบทมาตราใดยังใช้ได้ก็นำมาประมวลไว้ ในรัฐธรรมนูญนี้ และโดยที่การบ้านเมืองทั้งในภายนอก ได้เปลี่ยนแปลงไปหลายสถาน แม้นานาประเทศที่มีรัฐธรรมนูญ ใช้มานานแล้ว ก็ยังได้ดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัยกรรมาธิการจึงได้ค้นคว้าพิจารณารัฐธรรมนูญของนานาประเทศ ประกอบด้วย เมื่อได้ยกร่างขึ้นแล้วกรรมาธิการได้เสนอร่างนั้นต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ พิจารณาตรวจแก้ร่างที่กรรมาธิการนำเสนอโดยถี่ถ้วน แล้วได้พิจารณาทบทวนโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่งเห็นชอบ พร้อมกันเป็นอันเสร็จสิ้น แต่ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พุทธศักราช 2491 จึงได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยังรัฐสภา รัฐสภา ได้พิจารณาปรึกษาเห็นชอบด้วย ลงมติให้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระราชทานให้ใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยสืบไป ได้ทรงพระราชวิจารณ์โดยตลอด และทรงพระราชดำริเห็นพ้องต้องตามมติของรัฐสภาแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉะบับนี้ขึ้นไว้ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2490 นั้น ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ขอปวงชนชาวไทยจงร่วมจิตต์ร่วมใจสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันจะรักษาปฏิบัติรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อความดำรงคงอยู่ด้วยดี แห่งระบบประชาธิปไตยในรัฐสีมาอาณาจักร และนำมาซึ่งความผาสุก สิริสวัสดิ์สรรพพิพัฒนชัยมงคล เอนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชากรของพระองค์ สมดังพระบรมราช ประสงค์จงทุกประการ.