พิธีแรกนาขวัญ หรือ"พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" เป็นพระราช
     ประเพณีสำคัญ   ที่ทำเพื่อเสริมสร้างให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ "จรด
     พระนังคัล"  แปลว่า   จดไถหรือแรกไถ  เป็นประเพณี โบราณที่พระเจ้าแผ่นดินทรงทำพิธี
     ไถนาเองส่วนพระมเหสีเลี้ยงไหม เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน

	 พระราชพิธีแรกนาขวัญ หรือที่เรียกกันว่า "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล
     แรกนาขวัญ" พระราช พิธีสองพิธีต่อเนื่องกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ ประกอบ
     พิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตตนศาสดาราม   ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญซึ่ง
     เป็นพิธีพราหมณ์ มาเริ่มพิธีสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 4

	ความหมายของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็เพื่อต้องการให้พืช
     พันธุ์ธัญญาหารในพระราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์ตลอดฤดูกาลที่ทำการเพาะปลูกในสมัยสุโขทัย
     นั้นพระมหากษัตริย์จะเสด็จเป็นองค์ ประธานในพระราชพิธีทุกครั้ง   ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
     พระมหากษัตริย์ทรงกระทำเหมือนสมัยสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิ์และทรงจำศีลอย่างเงียบๆ  
     เป็นเวลา 3 วันพอถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้น
     สำหรับพระราชพิธีในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นประธานในพิธี โดยผู้ที่ทำ 
     หน้าที่พระยาแรกนาก็คือปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่วนเทพีคู่หาบเงินและทองที่ทำหน้าที่
     หาบเมล็ดพันธุ์ข้าวให้พระยาแรกนาหว่านในแปลงนาที่ท้องสนามหลวงจะเป็นข้าราชการหญิงใน
     กระทรวงเกษตรนั่นเอง

	พิธีอย่างย่อๆ ในการแรกนา จะเริ่มด้วยกระบวนพระยาแรกนาในชุดเครื่องสูงจะทำ
     พิธีเสี่ยงผ้านุ่ง ถ้าจับได้ผ้ากว้าง มีคำนายว่าน้ำจะมาก ถ้าจับได้ผ้าผืนกลางก็ทายว่าน้ำพอดีหาก
     จับได้ผ้าผืนแคบทายว่าน้ำจะน้อย    จากนั้นพราหมณ์จะมอบไถเทียมพระโคคู่ให้พระยาแรกนา
     ลงมือไถ  โดยเริ่มไถรี 3 รอบ ไถแปร 3 รอบ และไถดะ 3 รอบ ในระหว่างนั้น  พระยาแรกนาจะ
     หยิบเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานในหาบที่เทพีคู่หาบเงินและทองนำมาให้หว่าน แล้วไถกลบอีก 1 
     รอบ จากนั้นพราหมณ์จะให้พระโคเสี่ยงทายด้วยของกิน 7 อย่างมีข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา 
     เหล้า น้ำและหญ้า พระโคกินอะไร  ก็ทายว่าสิ่งนั้นจะสมบูรณ์

	หลังจากเสร็จพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรางวัลแก่เกษตรกรและ
     กลุ่มเกษตรกรดีเด่นที่ชนะการประกวดพันธุ์ข้าวเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ หลังจากเสด็จพระราช
     ดำเนินกลับแล้ว ก็จะเปิดโอกาสให้เกษตรกรและประชาชนที่มาร่วมพิธีเข้ามาเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่
     หว่านไว้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและอาชีพของตนเองต่อไป
	กิจกรรมต่างๆ  ที่ควรปฏบัติในวันพืชมงคล
	๑.  ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
	๒.  จัดนิทรรศการ  แสดงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวัชพืชมงคลรวมทั้ง
	      พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ