ตามประเพณีไทยนั้น ชายไทยเมื่อถึงเกณฑ์จะบวชพระหรือที่เรียกว่าอายุครบบวช คือ 20 ปีบริบูรณ์ ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะจัดการให้บุตรหลานของตนทำการบวชเป็นพระภิกษุในพุทธ ศาสนาหลังจากเตรียมเครื่องบวช เช่น ไตร จีวร สำหรับนาคพระอุปัชฌาย์และคู่สวด พร้อม เครื่องอัฐบริขารสำหรับพระเช่นบาตร ร่ม อาสนะ หมอน มุ้ง นอกจากเครื่องใช้ในการบวชต่าง ๆ แล้วผู้จัดการบวชก็จะไปหาพระอุปัชฌาย์และเมื่อท่านรับจะบวชให้และกำหนดวันแล้ว(มักนิยม จัดเพียง 2 วัน คือ พิธีทำขวัญนาควันหนึ่ง เรียกว่าวัสุกดิบ วันรุ่งขึ้นก็แห่นาคไปบวช) ก็จะเตรียม พิมพ์บัตรเชิญแจกญาติมิตร จากนั้นให้ผู้ที่จะบวชนำดอกไม้ ธูปเทียนแพใส่พาน ไปบอกกล่าว ญาติที่นับถือที่เรียกกันว่า "การลาบวช" ช่วงเวลาที่นิยมบวชกันคือ ก่อนเข้าพรรษาการบวช ใช้เวลาบวชประมาณ 3 เดือน โดยก่อนหน้านั้นฝ่ายผู้บวชจะไปหาเจ้าอาวาสหรือพระผู้เป็น อุปัฌาย์จะสอนให้ท่องบทสวดขานนาคก่อน
![]() | เมื่อถึงวันงาน เจ้าภาพจะจัดงานสมโภช หรือที่เรียกว่า "ทำขวัญนาคำ" ก่อนบวช 1 วัน (แต่สมัยนี้มักทำขวัญนาคในช่วงเช้า แล้วทำพิธีบวชใน ตอนบ่ายเลยก็มี) ในการทำขวัญนาคนั้น "เจ้านาค" ซึ่งโกนหัว โกนคิ้ว โกนหนวด โกนเครา ตัดเล็บเรียบร้อยแล้วจึงนุ่งห่มด้วยเครื่องแต่งกายที่ งดงาม นุ่งจีบ ด้วยผ้ายกทอง ใส่เสื้อครุยปักทอง สไบเฉียงทางไหล่ซ้าย สไบเฉียงทางไหล่ซ้าย คาดเข็มขัดฯลฯ จากนั้นไปนั่งหน้าบายศรี หมอ ทำขวัญนาคก็จะอ่านคำทำขวัญนาคขึ้นตามทำนอง ตั้งแต่บทไหว้ บท ชุมนุมเทวดาบทนะโม บทไหว้ครู และบทคุณมารดา และบทเชิญขวัญนาค |
ครั้นได้ฤกษ์ดีก็จะนำนาคเข้าขบวนแห่ไปที่วัด ถ้าเจ้าภาพ มีฐานะดีก็จะจัดขบวนแห่อย่างใหญ่โต มีเถิดเทิง กลอง ยาวและการละเล่นเล็กๆ น้อยๆร่วมขบวนแห่ ส่วนนาค จะเดินไป หรือจะขี่คอคนหรือนั่งบนช้าง |
![]() |