ภาคกลางเป็นศูนย์กลางการปกครองของบ้านเมืองมาตั้งแต่อดีต นับจากสมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยากรุงธนบุรี
จวบจนรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันมีหลักฐานปรากฏว่าเรือนไทยในสมัย สุโขทัย สมัยอยุธยาที่เหลือตกทอดมาจนปัจจุบัน
ล้วนก่อสร้างด้วยไม้เรือนไทยในสมัยอยุธยาคล้ายคลึงกับเรือนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์เพียงแต่สันนิฐานว่าเรือนของ
คหบดีขุนนางสมัย
อยุธยาจะมุงด้วยกระเบื้องลอนดินเผา

                 รูปทรงเรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศรีษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา
ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม   เช่น
อยู่ริมน้ำ ลำคลอง ตัวเรือนก็วางยาวไปตามลำน้ำด้วยหรืออยู่ริมถนนก็วางตัวเรือนไปตามถนนตำแหน่งของผังเรือนขึ้น
อยู่กับคติความเชื่อเป็นหลัก

                 เรือนไทยในภาคกลาง  ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนฝาปะกนถือเป็น
เรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก   มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกัน
สนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง   รูปแบบต่าง ๆ อาทิ    เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่
คหบดี และจากการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีตผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง   อันเป็นทางคมนาคมที่สะดวกในเขตภาค
กลางจึงเกิดรูปแบบเรือนพักอาศัยเช่นเรือนแพ เรือนไทยในภาคกลางอาจจำแนกออกเป็น

      เรือนเดี่ยว
                 เป็นเรือนสำหรับครอบครัวเดี่ยว สามีภรรยาและลูกที่ยังไม่ออก
เรือน   สร้างขึ้นโดยมีประโยชน์ใช้สอยที่เพียงพอกับครอบครัวเล็ก ๆอาจ
เป็นเรือนเครื่องผูกเรือนเครื่องสับ หรือผสมผสานกันก็เป็นได้แล้วแต่ฐานะ
ทางเศรษฐกิจ จะเอื้ออำนวย ประกอบด้วย เรือนนอน 1 หลัง เรือนครัว   1
หลัง ระเบียงยาว ตลอดเป็นตัวเชื่อมระหว่างห้องนอนกับชาน

                                                     เรือนหมู่           
                 เรือนหมู่    คือ    เรือนหลายหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่เดียวกันเมื่อลูกเต้า
ออกเหย้าออกเรือนไปแล้วเรือนเหล่านี้หลังหนึ่งเป็นเรือนเดิมซึ่งพ่อแม่อยู่
ส่วนที่เหลือเป็นเรือนหลังย่อมกว่า เป็นที่อยู่ของบุตรสาวซึ่งออกเรือนไป
แล้วจำนวนหลัง แล้วแต่จำนวนบุตรสาว เนื่องจากสมัยก่อนลูกชายแต่งงาน
ส่วนใหญ่
จะไปอยู่บ้านผู้หญิง ส่วนลูกผู้หญิงจะนำเขยเข้าบ้าน

     
    เรือนหมู่คหบดี
                 เรือนหมู่คหบดีโบราณ เป็นเรือนสำหรับผู้มีอันจะกินดังคำ
กล่าวว่า " ถ้าบ้านใด มีแม่เรือน 2 หลัง หอนั่ง ครัวไฟ  หัวกระไดต้นโมก
เป็นบ้านเรือนชั้นผู้ดีมีอันจะกิน " ลักษณะการจัดเรือนหมู่คหบดีของ
โบราณเป็นเรือนขนาดใหญ่มีเรือนคู่และเรือนหลังเล็กหลังน้อยรวม
เข้าด้วยกัน แต่ละหลังใช้ประโยชน์ต่างหน้าที่กันออกไป ประกอบด้วย 
เรือนนอน  เรือนลูก เรือนขวาง  เรือนครัว หอนก และชาน

                                                       เรือนแพ         
                 สายน้ำกับชีวิตแบบไทย ๆอยู่คู่กันมาโดยตลอด ส่วนใหญ่คนไทย
จะอาศัยอยู่ริมน้ำเพราะเป็นเส้นทางการ คมนาคมที่สะดวกและเป็นปัจจัย
สำคัญในการดำเนินชิวิตประจำวัน   และงานเกษตรกรรมในบางพื้นที่ที่
บริเวณชายน้ำเป็นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมถึงเป็นเวลานานในช่วงหน้าน้ำ การสร้าง
บ้านบริเวณชายฝั่งต้องยกพื้นชั้นบนสูงมาก
    จึงจะพ้นน้ำซึ่งไม่สะดวกใน
หน้าแล้งทำให้เกิดการสร้างเรือนในลักษณะ " เรือนแพ "   ที่สามารถปรับ
ระดับของตนเองขึ้นลงได้ตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง