ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จัดขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และ
ร่มเย็นเป็นสุขซึ่งช่วงเวลาที่จัดงานนี้จะตรงกับเทศกาลสารทไทย แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี 
จะมีการจัดขบวนแห่"พระพุทธมหาธรรมราชา" ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวเพชรบูรณ์ทั้ง
ทางบกและทางน้ำเพื่อนำไปบริเวณลำน้ำหน้าโบสถ์ชนะมารโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ  เจ้า
เมืองเท่านั้น  เป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาดำนำทั้ง 4 ทิศ  โดยอุ้มพระหันพระพักตร์ไปทาง
เหนือ 3 หน ลงใต้ 3 หน ถือว่าทำครบ ข้าว น้ำ จะอุดมสมบูรณ์ไม่แล้งต่อจากนั้นจึงนำองค์พระ
พุทธมหาธรรมราชาไปประดิษฐาน หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้
สรงน้ำ

	พระพุทธรูปสำคัญ หรือ "พระพุทธมหาธรรมราชา" ที่นำมาอุ้มดำน้ำนั้นปัจจุบัน
ประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปลพบุรี ทรงชฎาเทริด (หรือมีกะบังหน้า) 
พระพักตร์กว้างเนื้อสำริดหน้าตักกว้าง13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว มีกำไลแขนและประคดเป็นลวดลายไม่มี
ฐาน  มีตำนานเล่าว่า   ย้อนหลังไปประมาณ 400 ปีก่อน พระพุทธรูปองค์นี้จมอยู่ในลำน้ำป่าสัก 
พวกทอดแหหาปลาไปพบองค์พระลอยขึ้นมาปรากฎอยู่เหนือน้ำ ต่างมั่นใจว่าต้องเป็นพระพุทธรูป
ศักดิ์สิทธิ์แน่นอน  จึงอัญเชิญขึ้นมาและนำไปประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ ต่อมาเกิดหายไปแต่ก็ไปพบ
อยู่ในลำน้ำป่าสักตรงที่เดิมจึงได้อัญเชิญขึ้นมาบนบกอีกครั้งหนึ่งและจัดให้มีการนำมาสรงน้ำและ
ทำพิธีดำน้ำทุกปี ถ้าปีไหนละเว้น เชื่อกันว่าจะทำให้บ้านเมืองเกิดความ แห้งแล้งข้าวยากหมากแพง