คำว่าเรือนนั้น
เรามักจะหมายถึงที่อยู่อาศัยซึ่งสร้างด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ที่พักอาศัยของคนไทยที่ปลูกสร้าง
ด้วยไม้ ซึ่งเรียกว่าเรือนไทยนั้น มีอยู่ 2
ประเภท คือ "เรือนเครื่องสับ" "เรือนเครื่องผูก"
เรียกตามวิธีการสร้างเรือน
และวัสดุที่ใช้
"เรือนเครื่องผูก" คือ
เรือนที่ใช้ไม้จริงเป็นเสารองน้ำหนักส่วนโครงสร้างใช้ไม้ไผ่กับจากเป็นส่วนใหญ่
และ
เครื่องเรือนอื่น ๆ ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ เช่น จาก หญ้าคา แฝก
ไม้ไผ่ เป็นต้น ประกอบด้วยการผูกมัดเข้าไว้
ด้วยกัน โดยใช้วิธี ตอก-ผูก-ยึด-ตรึง
จะพบเห็นเรือนเครื่องผูกตามชนบทในท้องถิ่นห่างไกล
หรือตามพื้นที่เกษตร
กรรม โดยทั่วไปไม่ใหญ่โตมากนัก ปลูกสร้างตามอัตภาพ เท่าที่ความจำเป็นจะพึงมี
และเท่าที่ฐานะผู้อยู่อาศัยจะสามารถ
แสวงหาได้ เมื่อฐานะดีขึ้นจึงขยับขยายปลูกเรือนเครื่องสับ
"เรือนเครื่องสับ"
หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เรือนฝากระดาน บรรดาไม้จะต้อง เลื่อย-ถาก-สับ-ไส
เรือน
เครื่องสับนี้เป็นเรือนไทยที่สร้างด้วยฝีมือ เรือนประเภทนี้ไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว
วิธีก่อสร้างนั้นโครงสร้างส่วนใหญ่
รวมทั้งฝาใช้วิธีเข้าปากไม้ เพื่อให้ไม้ตั้งแต่ 2 ชี้นยึดติดกัน การเข้าปากไม้มีทั้งที่ใช้เดือยใส่ในรูเดือย
และวิธีให้ปากไม้
วางสับกัน หากต้องใช้ตะปูบ้าง จะใช้ตะปูจีนหรือสังขวานร หรือสลักยึดพรึงกับเสา
การประกอบเครื่องเรือนทั้งหมดที่
เป็นไม้จริงจะนิยมใช้ไม้สักเพราะมีความคงทนอายุการใช้งานยาวนาน ส่วนเสาเรือนนิยมใช้ไม้เต็ง
ไม้รัง และไม้แดง

คติความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างเรือนมีอยู่ทุกท้องถิ่น
แต่ละแห่งมีพิธีการ ความคิด ความเชื่อถือ มีทั้งเหมือนกัน
และแตกต่างกัน ส่วนใหญ่มักเหมือนกัน อาจแตกต่างกันเพียงส่วนปลีกย่อย โดยยึดถือหลักจากตำราทางโหราศาสตร
์
ไสยศาสตร์ และพราหมณ์มารวมกัน
นอกจากนี้
ยังมีความเชื่อต่อ พระ เจ้า ผี สาง เทวดา แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แผ่นดิน
สายน้ำ ทางลม
ต้นไม้ป่าไม้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของชาวบ้านอย่างแนบแน่น เมื่อจะกระทำสิ่งใดที่เห็นว่าสำคัญกับความสุข
ความเจริญ ก็ต้องหาอุบายมาปัดเป่าหรือป้องกัน การปลูกบ้านสร้างเรือนของคนไทยแต่โบราณ
คำนึงถึงความร่มเย็น
เป็นสุข ความเป็นสิริมงคล และมีโชคลาภแก่เจ้าของบ้าน ครอบครัวตลอดจนข้าทาสบริวาร
อย่างยืนยาวต่อไป จึงต้องมี
คติความเชื่อเหล่านั้น เจือปนเป็นพิธีอยู่ด้วยจนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา
|