เรือนไทยในทุกภาค ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้ หรือวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติในท้องถิ่นนั้น ๆ
ซึ่งเป็น ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของเรือนไทยโบราณ    ที่ทำให้แตกต่างจากชนชาติอื่น ๆ ตามชนบททั่ว
ไปจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ที่ขึ้นเอง ตามธรรมชาติและที่ปลุกขึ้น ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้ดอก ที่ขาด
ไม่ได้คือไม้ไผ่ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นไผ่ตง ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ลำมะลอก

                 เรือนไทยโบราณนิยมสร้าง "วิธีประกอบสำเร็จรูป" ทั้งในเรือนเครื่องสับและเรือนเครื่องผูก
เพื่อความสะดวกในการรื้อถอนขนย้ายไปปลูกใหม่ได้โดยรวดเร็วคือสามารถย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นได้และ
สามารถสร้างเสร็จได้ในวันเดียว

                 ตามความนิยมจะปลูกเรือนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านข้างหนึ่งมีระเบียง
หลังคาทรงสูงลาดชัน    ชายคายื่นยาวชานกว้าง ยกพื้น ใต้ถุนสูงโปร่ง เนื่องจากอาชีพหลักเกษตรกรรม
ทำให้ทำเลที่ตั้งเรือนอยู่ใกล้ริมน้ำลำคลองรูปทรงของเรือนจึงต้องยกใต้ถุนสูงป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำ
หลาก ประโยชน์ของใต้ถุนยังใช้สำหรับพักผ่อนหรือทำงานในตอนกลางวัน เช่น ทอผ้า ตำข้าว  เป็นต้น
รวมทั้งใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ พาหนะ ตลอดจนสิ่งของต่าง ๆ

                 เรือนภาคเหนือ มีลักษณะแตกต่างจากภาคกลาง คือ ฝารอบนอกจะเอียงออกจากพื้นบานปลาย
ใหญ่ ออกไปที่แปหัวเสา ซึ่งตรงข้ามกับ เรือนไทยภาคกลาง ที่มีฐานใหญ่ปลายสอบที่แปหัวเสาส่วนที่
ปั้นลมตรงสุดอกไก่ของเรือนภาคเหนือตกแต่งงดงามแต่เรือนไทยภาคกลางตกแต่งปลายปั้นลมส่วน
เรือนไทยภาคใต้วิธีการสร้างวางตอม่อบนพื้นดินไม่ขุดหลุมทำให้เวลาย้ายสามารถยกไปได้ทั้งหลังเลย

โดยเลื่อนตามตอม่อไปด้วย