ประเพณีบูชาอินทขีล เป็นประเพณีประจำปีของชาวเชียงใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญา ชาวบ้านผสมผสานความเชื่อถือผีดั้งเดิมและพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลัง เรียกกัน ตามภาษาถิ่นว่า "เข้าอินทขีล"(อินทขีล คือเสาหลักเมืองที่ประดิษฐานหน้าวัดเจดีย์หลวง) ซึ่งจะมีช่วงเวลาในการ ประกอบพิธีกรรมระหว่างปลายเดือนแปด ต่อกับต้นเดือนเก้าตามปฎิทินจันทรคติแบบล้านนา (เร็ว กว่าปฏิทินจันทรคติของภาคกลาง 2 เดือน)ไปสิ้นสุดในวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 9(เรียกว่า วันออกอินทขีล) เพื่อเป็นการสรงน้ำเสาหลักเมือง และสรงน้ำถวายพระเจ้าฝนแสนห่า องค์ประธานในพิธีและเพื่อเป็น การสร้างขวัญและกำลังใจของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแต่เดิม ในยามบ่ายของทุกวันในช่วงเวลานั้นไปจนถึงย่ำค่ำบรรดาพ่อแก่แม่เฒ่าหนุ่มสาวและครอบครัว จะพากันเตรียมดอกไม้หลายหลากสีและเครื่องบูชามาจัดเรียงใส่ในตะกร้าบ้าง ขันน้ำขนาดใหญ่บ้างเพื่อ ทำการ "ใส่ขันดอก" หรือการถวายดอกไม้บูชาอินทขีลที่บริเวณหน้าวิหารของวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจะ ประดิษฐาน"พระเจ้าฝนแสนห่า" ไว้ให้ประชาชนบูชาเป็นการชั่วคราวหลังจากการแห่ไปตามถนนในเวียง เชียงใหม่ก่อนกลับวัดเจดีย์หลวงเพื่อประกอบพิธีสรงน้ำ ใส่ขันดอก (ถวายดอกไม้) มีพิธีสงฆ์ (พิธีเหล่า นี้จะทำภายในวิหารอินทขีลโดยตลอด) เมื่อเสร็จพิธีก็จะมีมหรสพสมโภชเช่นเดียวกับเงานบุญอื่นๆ