![]() | ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของจังหวัดชลบุรี มีอยู่แห่งเดียวในเมืองไทย เมื่อใกล้เทศกาลออกพรรษาครั้งใด ก็แสดงว่าช่วงเวลาแห่งการไถหว่านได้ผ่านพ้นไปแล้ว ถึงเวลา ที่บรรดาชาวไร่ชาวนาจะได้มีโอกาสหยุดพักผ่อน เพื่อรอคอย เวลาที่ผลผลิตจะตกดอกออกรวงและก็เป็นเวลาที่วัวควายจะ ได้พักเหนื่อยเสียทีหลังจากที่ถูกใช้งานมาอย่างหนัก |
ในวันงาน ชาวไร่ชาวนาจะหยุดงานทั้งหมดและจะตกแต่งควายของตนอย่างสวยงามด้วย ผ้าแพรพรรณ และลูกปัดสีต่างๆ และนำควายมาชุมนุมกันที่ตลาด พร้อมกันนั้นก็จะนำผลิตผลของ ตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้านตลาดไปพร้อมๆ กัน เมื่อจับจ่ายขายสินค้าซื้อหาของต้อง ประสงค์เสร็จแล้ว ต่างคนต่างก็ถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน บ้างก็จูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลาย มาเป็นการแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น และจากการที่ชาวไร่ชาวนาต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาควายของตนอย่างสวยงาม นี่เอง ทำให้เกิดการประกวดประชันความสวยงามของควายกันขึ้น พร้อมๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย ปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 อำเภอบ้านบึง จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตลาดหนองเขิน อำเภอบ้านบึง จัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วัดดอน กลาง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จัดวิ่งควายในวันทอดกฐินประจำปีของวัด ในวันนี้นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย และประกวด สุขภาพของควายแล้วยังมีการ "สู่ขวัญควาย" หรือทำขวัญควายไปในตัวอีกด้วยแม้ปัจจุบันเกษตรกร ส่วนใหญ่ในประเทศจะหันมาใช้เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็กช่วยผ่อนแรงในการทำนาแล้วก็ ตาม แต่ชาวชลบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่ เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย