ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของไทย  แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า 
ทำมากันตั้งแต่เมื่อไรเท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิฐานว่า เดิมเป็นพิธีของพราหมณ์ทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งสาม  คือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหมต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามี
การชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ   พระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์และลอยโคมเพื่อบูชารอย
พระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ  หากทรายแม่น้ำนัมมทา

	ในสมัยสุโขทัย  นางนพมาศพระสนมของพระร่วง  ได้คิดทำกระทงถวายเป็นรูป
ดอกบัวและรูปต่าง ๆ  ให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล พระร่วงเจ้าทรงพอพระราชหฤทัยกระทง
ดอกบัวของนางนพมาศ   งโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง   และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงสมัย
กรุงศรีอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์     ด้วยเหตุนี้กระทงรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนทุกวันนี้  
แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า"ลอยกระทงประทีป"

	ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงตัดพิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าสิ้นเปลืองออก ต่อมาใน
รัชกาลที่ 5  และรัชกาลที่ 6  ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้อีก

	ปัจจุบันนี้  การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงกระทำ
เป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำกันอยู่เป็นประจำตลอดมา
			
                
	ประเพณีลอยกระทงของไทยนั้น  ตรงกับวันขึ้น  15 ค่ำ  เดือน  12  ของทุกปี
	
	ลอยกระทงเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งมีการปฏิบัติตามความเชื่อ
ของแต่ละท้องถิ่น  เช่น เพื่อให้ความเคารพบูชา และขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ   ต่อ
การดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งเป็นการขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์หรือทำความเสียหาย
แก่น้ำ  เช่น  ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงน้ำ  หรือลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์ ซึ่งประเพณีลอยกระทงก่อให้เกิด
คุณค่าและความสำคัญดังนี้

	1.  คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น  การ
	     ประดิษฐ์กระทงไปลอยเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของน้ำให้คุณประโยชน์
	     แก่เรา
	2.  คุณค่าต่อชุมชน  ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน
	3.  คุณค่าต่อสังคม  ทำให้มีความเอื้ออาทรต่อกันและกันและเอื่ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม
	     ด้วยการช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ
	4.  คุณค่าต่อศาสนา  เป็นการช่วยกันรักษาและทำนุบำรุงศาสนา  และสืบทอดประเพณี
                     อันดีงามของไทยแต่โบราณ

	
	ประเพณีลอยกระทงมีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการถือปฏิบัติและ
สืบทอดต่อไปได้แก่
		
	1.   การทำความสะอาดแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังงานลอย
	      กระทง เช่น ขุดลอกคูคลอง เก็บขยะหรือสิ่งปฏิกูลในแหล่งน้ไ จากนั้นก็นำกระทง
	      ไปลอยในแม่น้ำลำคลอง และทำพิธีระลึกบูชาคุณค่าของน้ำ โดยการตั้งคำปฏิญาณ
	      ที่จะรักษาแหล่งน้ำตลอดไป
	2.   การทำบุญให้ทาน   ฟังเทศน์และถือศีลปฏิบัติธรรม ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
	3.   การรณรงค์ประดิษฐ์กระทงโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่ายหรือเป็นวัสดุที่
	      ใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำ  เช่น  ปลา  ได้
	4.   การจัดขบวนแห่กระทง
	5.   การจัดกิจกรรมประกวดกระทง โคมลอย สำหรับการประกวดนางนพมาศ ไม่ควรให้
	      ความสำคัญมากเกินไปนัก
	6.   การปล่อยโคมลอย  ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
	7.   การจุดดอกไม้ไฟ  ควรจุดอย่างระมัดระวัง  ในเวลา และบริเวณที่ได้รับอนุญาตจาก
	      ทางราชการเท่านั้น
	8.   การละเล่นรื่นเริงตามความเหมาะสมตามประเพณีท้องถิ่นนั้น ๆ
	9.   การรณรงค์ไม่ปล่อยน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในแหล่งน้ำ
              10.   ระลึก  ปฏิญาณตนในการรักน้ำ
	  กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี
	  กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน               
	  กิจกรรมที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง
	  แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ