เดิมประเทศไทยกำหนดให้ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 โดยถือว่าวันที่ 31 มีนาคม เป็นวันสุดท้ายของปีเก่าและวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งมีการ จัดฉลองต่อเนื่องกันไปจนถึงวันตรุษสงกรานต์ ต่อมาในปี พ.ศ.2484 ได้เปลี่ยนมากำหนดให้ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้น ปีใหม่ตามแบบสากล และถือปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ถึงวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี 1. เพื่อเป็นการฉลองชีวิตของคนที่อยู่รอดปลอดภัยในระหว่างปีที่ผ่านมาเป็นการส่งท้าย ปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นชีวิตในวันใหม่ ด้วยการทำความดีและทำบุญทำทาน เพื่อความเป็น สิริมงคล และความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิตในปีใหม่นั้น ๆ ต่อไป 2. เพื่อเป็นการฉลองความสำเร็จแห่งกิจการงานต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย และผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งการสร้างบุญกุศลอันเป็นทุนสำรองไว้สำหรับการ ดำเนินชีวิตและกิจการงานในปีใหม่ต่อไป 3. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล อันเป็นส่วนแห่งความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษของตน ตามหน้าที่ของคนไทยที่พึงสนองคุณแก่บุพการี 4. เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมอันดีงาม
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟู และส่งเสริมให้มี
การถือปฏิบัติและสืบทอดต่อไป ได้แก่
1. การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่น   วัด
โรงเรียน  สถานที่ทำงาน รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ เพื่อต้อนรับปีใหม่
2. การทำบุญให้ทาน ฟังเทศน์ ถือศีลและปฏิบัติธรรม
3. การปล่อยนกปล่อยปลา
	4.   การเยี่ยมเยียน บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่เพื่อขอพร และรับพร
	5.   การมอบของขวัญและอวยพรซึ่งกันและกันเพื่อให้มีความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิต
	6.   การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น

	

	ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ มีกิจกรรมบางอย่างที่มีลักษณะการปฏิบัติที่เบี่ยงเบนไปในทางที่
ไม่เหมาะสมหรืออาจส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมทประเพณี หรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน กิจกรรมเบี่ยงเบนดังกล่าว ได้แก่

	  กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี
	  กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
	  กิจกรรมที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง
	  แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ