เรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องผูกในภาคเหนือ ชาวล้านนาเรียกว่า "เรือนไม้บั่ว" หรือ "เรือนมัดขื่อ
มัดแป"ถือเป็นเรือนแบบดั้งเดิมโครงสร้างหลังคาเสาตงพื้นใช้ไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งสามารถก่อสร้างกันได้เองโดย
ไม่ต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญ

     ฝาฟาก   
ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่งนิยมทำกันในภาคเหนือ โดยเฉพาะชาวเขา
เผ่าต่าง ๆ และชาวไทยใหญ่ เพราะภูมิอากาศทางเหนืออุดมสมบูรณ์ด้วย
ไม้ไผ่บง ซึ่งเป็นไผ่ลำโต ปล้องยาว เนื้อของไม้บางอ่อนตัว สะดวกใน
การขัด เหมาะสำหรับนำมาทำฟากลับไม้ไผ่บงสามารถทำฟากได้ตลอด
ทั้งต้นการทำฝานิยมขัดตามนอนฝาเรือนที่ทำด้วยฟากชนิดนี้จะมีความ
มิดชิดเป็นส่วนตัวมากกว่าฝาขัดแตะชนิดอื่น

 

                                              เครื่องมุงหลังคา   
นิยมใช้ใบตองตึง เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใบมีความหนา นำมาเย็บกับ
ตับไม้ด้วยตอกไม้ไผ่ เรียกว่า ตับพลวง ตับตั้ง ใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา เป็น
ที่นิยมมากในเรือนไม้บั่ว ของชาวเหนือ

 

    ฝาขี้ล่าย
ลักษณะฝาไม้ไผ่ขัดจริงกับไม้จริงเรียกฝาขี้ล่ายสมัยก่อนมีข้อห้ามไม่ไห้สร้างด้วยไม้
จริงหมดทั้งหลังพื้นบางส่วนต้องปูฟากสลับฝาเรือนต้องมีไม้ไผ่ขัดแตะมีกรอบเป็น
ไม้กระดาน

 

                                                  หลองข้าว   
ยุ้งข้าวตามคติการดำรงชีพของชาวล้านนาถือว่าเมื่อมีหลวงข้าวในบ้านจึง
ถือเป็นบ้านที่สมบูรณ์หลองข้าวในเรือนไม้บั่วจะมีทั้งชนิดอยู่ภายในและ
ภายนอกตัวเรือนลักษณะเป็นไม้ไผ่สานรูปกลม ๆ ตั้งอยู่บนแคร่ ยกลอย
ใต้แคร่อาจเรียงฟืนไว

     กระไดไม้ไผ่
 ขั้นบันไดใช้จำนวนขั้นเป็นเลขคี่ตามคติโบราณ คือ 3, 5, 7 บันไดเรือนไม้บั่วใช้ไม้ไผ่จำพวก ตง สีสุก เป็นไม้แก่