เรือนไทยในภาคอีสาน เป็นแบบอย่างของเรือนแบบชั่วคราว อาจจะเป็นเพราะลักษณะการตั้งถิ่นฐานชาว
บ้านที่อาศัยอยู่ในภาคนี้ ชอบโยกย้ายอยู่ไม่ติดที่ เพื่อหาทำเลที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ แต่กระนั้นก็ยังแบ่งออกได้เป็นการ
ปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

     ลักษณะชั่วคราว
                 สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่"
ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา
จากเรือนเก่า  พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ
ได้ถ้าหากต้องค้างคืนก็มักกั้นฝาเถียงด้วยแถบตองโดยเอาไม้ไม่สานเป็น
ตารางขนาบใบตองชาด หรือใบพลวงประดับเป็นฝา มีอายุใช้งาน 1-2 ปี
สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย

 

                                                                  ลักษณะกึ่งถาวร      

                  คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก
" เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นเรือนเริ่มต้น
ของชีวิตครอบครัว การเลือกวัสดุมักไม่พิถีพิถันนัก อาจเป็นแบบเรือน
เครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้ ส่วนใหญ่เย่าเรือนประเภท
นี้ มักเป็นเขยของบ้านที่เริ่มแยกตัวออกจากเรือนใหญ่เพราะมีความเชื่อ
ว่าบ้านหลังหนึ่งควรมีเขยคนเดียวเท่านั้นตามคำพังเพยว่า "นาสอง
เหมือง  เมืองสองท้าว เหย้าสองเขย " เป็นการไม่ดี

                  

                 นอกจากนี้ เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี  " ตูบต่อเล้า " ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน"  ซึ่งเป็น
เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่เช่น  
เดียวกับตูบต่อเล้า วัสดุที่ใช้มุงหลังคาจะใช้วัสดุในท้องถิ่น คือ มุงหญ้าคาที่ กรองเป็นตับ เรียกไพหญ้า ฝาเรือนมักใช้ฝา
แถบตอง หรืออาจทำเป็นฝาไม้ไผ่สานลายสอง (ฝาลายคุบ) ฝาขัดแตะและฝาอ้อฟากคือ นำไม้ไผ่มาเฉาะปล้องออกแล้ว
สับให้แผ่ออกเป็นแผงมีไม้เคร่าเป็นตัวรัดยาวตลอดฝาส่วนพื้นนิยมใช้พื้นสับฟากหรือใช้ แผ่นกระดาษปูลำลองโดยใช้
ไม้ไผ่ผ่าซีกมามัดขนาบกับแผ่นไม้ขยับเลื่อนหรืออาจใช้ไม้ไผ่มามัดเครือซูด(เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง)เป็นลักษณะพื้นแคร่
                 เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถัน
น้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง จะลงมาพักบนคานของ
ด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน หากเป็นดั้งตั้งขื่อ ตัวดั้งลงมานั่งบนขื่อ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก เช่นกัน

          ลักษณะถาวร
                 เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด   คือ
คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ    เรือน
เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ   หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ   ส่วน
ประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน
ข้างมือเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศจัดจึงต้องทำเรือน
ให้ทึบและกันลมได้
หลังคาเรือนทำเป็นทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลางมุงด้วย
กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของอาทิตย์ทั้ง
สองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทย
ภาคกลาง