ในสังคมชาวอีสานแต่ละครัวเรือนจะปลูกเรือนขนาดพอเหมาะในลักษณะครอบครัวเดียวเมื่อสมาชิก ในครอบครัว
แต่งงานก็ขยับขยายไปปลูกเรือนอีกหลังหนึ่ง  เรียกว่าเรือนเหย้าถ้าไม่สามารถปลูกเรือนเหย้าได้  ก็จะปลูกในบริเวณที่นาเป็น
เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิดตบซึ่งเป็นที่พักไม่ยกพื้นบางส่วนทรงหลังคาเป็นลักษณะเผิงโดยสร้างตูบเข้ากับเล้าข้าวของเรือนพ่อ
แม่ส่วนเรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด  " ตั้งต่อดิน "   และ" ดั้งตั้งขื่อ "  เป็นคำเรียก ของชาวไทยอีสานหมายถึงตัวเสาดั้งจะตั้งฝังดิน
หรือแค่ขื่อและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัย ที่แยกตัวออกจากเรือนใหญ่ แต่ดูเป็นสัดส่วนกว่า
ตูบต่อเล้า

                                                                                            ไพหญ้า     
หลังคามักใช้วัสดุท้องถิ่น มุงหลังคาที่กองเป็นตับแล้วเรียกว่า ไพหญ้า
         ฝาอ้อมฟาก
เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิดดั้งตั้งขื่อฝาเรือนไม้ใช้ไผ่มาเฉาะปล้องออกแล้วสับให้แผ่ออกเป็นแผง
มีไม้เคร่านอนเป็นตัวรัดยาวตลอดฝา

                                        เถียงนาหรือเถียงไฮ่     
 ที่พักชั่วคราวเวลาไปนาเพราะที่นาอยู่ห่างเรือนมักไม่ทำฝาหากต้องอาศัยค้าง
แรมก็จะกั้นฝาด้วยแกบตองหลังคา มุงหญ้าหรือเป็นไม้ที่รื้อมาจากเรือนเก่า

 

       ฝาแถบทอง   
ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบทองโดยใช้ใบถุง (ใบพลวง) หรือใบชาด มาประกบด้วยไม้ไผ่
สานโปร่งเป็นตาราง