ประเพณีแห่ผีตาโขน จัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง"
หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้ายและอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี  เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติ
ประจำปีกับพระธาตุเจดีย์สองรัก  ปูชนียสถานสำคัญของท้องถิ่น

กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า
กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตนและแฝงตัว
มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า  "ผีตามคน" หรือ   "ผีตาขน"
จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน
ส่วนตำนานท้องถิ่นเล่ากันว่า มีคู่รักที่ถูกกีดกันคู่หนึ่งพากัน
หลบเข้าไปอยู่ในอุโมงค์พระธาตุศรีสองรักเมื่ออุโมงค์ถูกปิด
ตายทั้งคู่จึงถูกขังอยู่ข้างในจนเสียชีวิตด้วยกัน    กลายเป็น
"เจ้าพ่อกวน" และ "เจ้าแม่นางเทียมเฝ้าดูแลรักษาองค์พระ
ธาตุตลอดมา และเมื่อถึงเทศกาลแห่พระอุปคุต (พระภิกษุ
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งประทับอยู่เหนือรัตนบัลลังก์
กลางมหาสมุทรผู้มีอิทธิฤทธิ์สามารถปราบปรามพวกมารซึ่งจะมาก่อก่วนหรือระงับงานบุญต่างๆ
เมื่อมีงานบุญครั้งใดจึงมักจะมีการนิมนต์พระอุปคุตมาทุกครั้ง) ในพิธีขอฝนของท้องถิ่น

การจัดงานจะแบ่งเป็น 2 วัน ในวันแรกของการจัดงาน หรือที่เรียก "วันฮวม" ก่อนสว่างเล็กน้อย
ก็จะมีบรรดาผีตาโขนทั้งหลาย   ซึ่งส่วนมากจะเล่นกันเฉพาะผู้ชายตั้งแต่เด็กรุ่นๆ    ถึงผู้ใหญ่ใน
เครื่องแต่งกายรุ่มร่ามสวมหมวกและหน้ากากที่ทำจากหวดนึ่งข้าวเหนียวแต่งแต้มระบายสีมีจมูก
เป็นงวงช้าง  มีหางเป็นกระดึงกระดิ่ง  เพื่อให้น่าเกลียดและน่ากลัว     พากันตั้งขบวนแห่มาที่วัด
โพนชัย ทำการแห่รอบวัด 3 รอบ    จากนั้นก็ออกจากวัด แห่ไปยังหมู่บ้านต่างๆ ถือเป็นการเยี่ยม
เยียนสังสรรค์กันระหว่างชาวหมู่บ้านและบรรดาผีตาโขนทั้งหลาย

ในวันที่ 2 เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง
เช่น งานบุญพระเวส และงานบุญบั้งไฟเป็นต้นขบวนผีตาโขนจะไปร่วมในขบวนแห่พระเวสสันดร
และนางมัทรีเข้าเมือง เสร็จแล้วผู้เล่นผีตาโขนจะนำเครื่องแต่งกายทั้งหมดไปทิ้งที่แม่น้ำหมัน (ซึ่ง
ถูกสมมติว่าเป็นท้องทะเลที่กว้างใหญ่ไพศาล)จากนั้นเวลาค่ำก็จะมีการเทศน์มหาชาติถึง 13 กัณฑ์
เป็นอันเสร็จพิธี