วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดู
     ฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า
    "ปวารณา"แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าว
     ตักเตือนกันได้ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน

	ในวันออกพรรษานี้ กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตัก
     บาตรจัดดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระที่วัด  และฟังพระธรรมเทศนาของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรใน
     วันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยนและการร่วมกุศลกรรมการ "ตักบาตรเทโว" คำว่า   "เทโว"
     ย่อมาจาก"เทโวโรหน"  แปลว่าการ เสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว  จึงเป็นการระลึกถึงวันที่พระ
     พุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลก
ประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ทุกวัดในประเทศ
ไทยก็มีพิธีเหมือนกันหมด   จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ที่สมมติว่า
เป็น "สวรรค์ชั้นดาวดึงส์"  เท่านั้นที่ขบวนพระภิกษุเดินลงมา ที่
วัดสะแกกรังหรือวัดสังกัสรัตนคีรีในจังหวัดอุทัยธานี  ซึ่งตั้งอยู่บน
เชิงเขาสูง  พิธีตักบาตรเทโวที่วัดนี้บรรดาพระภิกษุจะพากันเดิน
     ขบวนลงมาจากบนเขามาตามบันไดดูเหลืองอร่ามงามจับตา โดยมีบรรดาพุทธศาสนิกชนจะพากัน
     ใส่บาตรตามเชิงบันไดเรื่อยมาจนถึงพื้นล่าง

	     กิจกรรมต่างๆ  ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
     ๑.  ทำบุญตักบาตร  อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
     ๒.  ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม  ฟังพระธรรมเทศนา
     ๓.  ร่วมกุศลธรรม  "ตักบาตรเทโว"
     ๔.  ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด  ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ
          ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
     ๕.  ตามสถานที่ราชการ  สถานที่ศึกษาและที่วัด  ควรจัดให้มีนิทรรศการ  การบรรยาย  หรือ
          บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ  เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป