ประเพณีชักพระ เป็นงานประเพณีที่มีในช่วงวันออกพรรษาซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับจากโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีการอัญเชิญ พระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบก แล้วช่วยกันลากแห่ไปรอบเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคล จะจัดขึ้นทั้ง บนบกและในน้ำ งานประเพณีชักพระในภาคใต้ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะมีในแม่น้ำตาปีและมีการเล่น สาดน้ำกันด้วย พิธีชักพระทางบก จะมีการจัดทำที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทำด้วยไม้เป็นรูปพญานาค 2 หัว อยู่ข้างหน้า ส่วนข้างหลังก็ทำเป็นหางนาค โดยบนตัวพญานาคจะปลูกเป็นร้านเพื่อใช้วางบุษบก หรือที่ เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า "พนมพระ"สำหรับใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แล้วประดับประดาด้วย ธงสามเหลี่ยม ด้านละ 3 คัน รอบนอกกั้นด้วยผ้าผืนยาวประมาณ 2-3 เมตรเพื่อให้สวยงามมีการนิมนต์ พระภิกษุขึ้นประจำบนบุษบกด้วย ขณะที่ชักพระตัวพญานาค 2 หัวด้านหน้าต้องใช้เชือกขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตรยาวประมาณ 2 เมตรขึ้นไป เพื่อใช้ในการชักพระข้างละเส้น เวลาชักลากจะมีการตีกลอง ซึ่งตั้งอยู่บนขบวนเป็นการเร่งจังหวะในการลากด้วย การชักลากพระบนบกจะทำการชักพระไปตามสถานที่ๆ กำหนดไว้บางแห่งจะมีจุดนัดพบของ การชักลากพระเพื่อให้ประชาชนทำบุญร่วมกันถึง 4-5 วัด หรือมากกว่านั้นก็มี เมื่อประชาชนได้ทำบุญ ประเพณีตามสถานที่ชุมนุมพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำพิธีชักพระกลับวัด เป็นอันเสร็จพิธี สำหรับวิธีชักพระทางเรือ โดยมากมักจะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำ โดยจะนำพระพุทธรูป สำคัญมาประดิษฐานบนเรือที่ตกแต่งประดับประดาไว้ด้วยธงทิวไว้อย่างสวยงามมีการประโคมเสียงฆ้อง กลองไปตลอดเวลาที่ลากจูงไปตามลำแม่น้ำเพื่อไปยัง ณ ที่จุดรวมพิธีสมโภชนอกจากเรือที่ประดิษฐาน พระแล้วก็จะมีเรือของชาวบ้านมาร่วมขบวนแห่ด้วยซึ่งเมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะมีการสาดน้ำกันระหว่างหนุ่ม สาวและการละเล่นเล็กๆ น้อยๆ จนพลบค่ำจึงชักพระกลับวัด เป็นอันเสร็จพิธี