ประเพณีสลากภัต เป็นประเพณีทำบุญที่คนในปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันดีนัก เพราะมิใช่ ประเพณีใหญ่โตแบบตรุษหรือสารท มักจะทำตามบ้านที่นิยมเลื่อมใส หรือมีสิ่งของพอที่จะรวบรวม มาถวายพระหรือเข้าสลากภัตได้ก็จะจัดพิธีนี้ขึ้น ในทางภาคเหนือจะเรียกพิธีนี้ว่า "ทานก๋วยสลาก" คำว่า "ก๋วย" แปลว่า"ตะกร้า" หรือ "ชะลอม" "สลากภัต" หมายถึงอาหารที่ทายกถวายพระตามสลาก นับเข้าเป็นเครื่องสังฆทาน ใน สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ในคำสอนนิสสัยว่าเป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งถวายได้ไม่ จำกัดกาล สุดแต่ศรัทธาสำหรับในปัจจุบันนิยมทำในฤดูที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ ในระหว่างเดือน 6 จนถึงเดือน 8 เมื่อวัดใดจะจัดให้มีการถวายสลากภัต มัคทายกผู้เป็นหัวหน้าก็จะกำหนดวัดและหา เจ้าภาพด้วยวิธีการต่างๆเช่น ทำใบปิดไปปิดไว้หรือไปประกาศป่าวร้องหาเจ้าภาพร่วมผู้ใดต้องการ เป็นเจ้าภาพก็แจ้งชื่อไว้ ครั้นถึงวันกำหนดผู้เป็นเจ้าภาพก็จะมีการเตรียมสำรับกับข้าว และเครื่อง ไทยทานตามกำลังของตน เช่น หมาก เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ หอม กระเทียม สบู่ แปรงสีฟัน ข้าวสาร น้ำตาล และน้ำอ้อย เป็นต้น ต่างก็จะนำมารวมกันไว้ในบริเวณวัด จากนั้นทายกผู้เป็นหัวหน้า ก็จะนำเบอร์มาติดที่สำรับกับข้าวของเจ้าภาพแต่ละรายแล้ว เขียนเบอร์หมายเลขให้พระจับพระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็ไปฉันสำรับกับข้าวที่เจ้าภาพ นำมา ส่วนใหญ่ของที่เตรียมไว้จะพอดีระหว่างเจ้าภาพและพระที่นิมนต์มา ข้อสำคัญในการทำบุญสลากภัตก็คือ เป็นการถวายทานแบบไม่เจาะจงตัวผู้รับเมื่อพระ องค์ใดจับได้เบอร์ของเจ้าภาพ เจ้าภาพไม่ควรแสดงความยินดียินร้ายในผู้รับ ก่อนที่จะมีการเส้น สลาก(จับสลาก)ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย1กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลาก เมื่อพระฉันเสร็จแล้วก็จะอนุโมทนาและให้พรเจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธี