1. ใช้วัสดุที่เป็นของแข็ง น้ำแข็งหรือวัสดุที่เป็นอันตรายขว้างปาผู้อื่น หรือใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ฉีดน้ำที่แรงเป็นอันตรายต่อผู้อื่น 2. ใช้น้ำสกปรกหรือของเหลวที่เน่าเหม็น ขว้างปาใส่ผู้อื่น 3. ประแป้งที่บริเวณหน้าอกหรืออวัยวะส่วนอื่นของสุภาพสตรีที่ส่อไปทางอนาจาร 4. นั่งหรือยืนสาดน้ำในส่วนท้ายของรถบรรทุกขณะเคลื่อนที่ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตราย 5. จำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำหน่ายนอกเวลาที่กำหนด (ระยะเวลาที่กำหนดคือ 11.00 - 14.00 น. และ17.00 - 24.00 น.) (เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด) และการจำหน่ายสุราให้แก่ลูกค้าที่มีอาการมึนเมาสุราจนครองสติไม่ได้แล้ว 6. ตั้งจุดเรี่ยไรหรือรีดไถบนถนนหลวง หรือ ทางสาธารณะ 1.1 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น จากการกระทำดังกล่าวพร้อมทั้งความผิดและโทษที่จะได้รับ 1.2 หากมีผู้ฝ่าฝืนจนเกิดความเสียหายเป็นอันตรายต่อผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้ฝ่าฝืนจะ ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญาตามลักษณะความผิดที่เกิดขึ้น เช่น ใช้น้ำแข็งขว้างปาผู้อื่นจนได้ รับบาดเจ็บผู้กระทำต้องได้รับโทษตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 295 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาทหากผลจากการกระทำเป็นอันตรายแก่ผู้อื่นถึงขั้นสาหัสจะเป็น ความผิดตาม มาตรา 297 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี 2.1 หากผู้กระทำใช้นำสกปรกหรือของเหลวที่เน่าเหม็นขว้างปาผู้อื่น จนทำให้ผู้อื่นนั้นได้รับความ อับอายหรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าธารกำนัล ผู้กระทำนั้นมีความผิดตาม ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 397 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น 3.1 หากการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ผู้กระทำมีความผิดและจะถูกดำเนินคดี ในข้อกล่าวหา กระทำอนาจารบุคคลอื่น ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 278 มีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 3.2 หากการกระทำดังกล่าวเกินเลยจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำจะมีความผิดตาม มาตรา 280 (2) ต้องระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต 4.1 หากมีผู้ฝ่าฝืนต้องถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 125 วรรคสอง มีโทษตาม มาตรา 148ปรับไม่เกิน 500 บาท 5.1 หากจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตจะถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. สุรา มาตรา 40 ฝ่าฝืนมาตรา 17 มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ในกรณีที่เป็นสุราต่างประเทศ และปรับไม่เกิน 500 บาท ใน กรณีที่เป็นสุราในราชอาณาจักร 5.2 หากมีการจำหน่ายสุรานอกเวลาที่กำนหด จะถูกดำเนินคดีตามประกาศคณะปฏิวัติ 2563 ลง16 พ.ย.2515 ข้อ 2 วรรคหนึ่ง มีโทษตามข้อ 4 จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5.3 สถานบริการจำหน่ายสุราให้แก่ลูกค้าที่มีอาการมึนเมาสุราจนครองสติไม่ได้แล้ว มีความผิดตาม พ.ร.บ. สถานบริการ มาตรา 27 ฝ่าฝืน มาตรา 16(5) มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 6.1 หากมีการฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 17 จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 200 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ