เรือนที่พบเห็นทั่วไปในภาคใต้แบ่งออกเป็นเรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับ และเรือนก่ออิฐฉาบปูน
โดยเอกลักษณ์ของเรือนภาคใต้อยู่ที่หลังคาเรือนและ เสาเรือนจะเป็นเสาไม้ตั้งบนฐานคอนกรีตเหตุเพราะสภาพ
แวดล้อมทางธรรมชาติเกิดพายุไต้ฝุ่น พายุฝน ลมแรงเสมอ จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงและด้วยเหตุที่จังหวัด
ปัตตานี เป็นจังหวัดที่ผลิตกระเบื้องในสมัยก่อน    ฉะนั้น เรือนในภาคใต้ส่วนใหญ่จึงมักมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง
แต่ก็พบเรือนหลังคา ผูกที่ใช้วัสดุธรรมชาติมุงหลังคาด้วยแฝก จาก ฟาก เช่นกัน
                   

                      หลังคาเรือนภาคใต้มี 3 ลักษณะคือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคามนิลา หรือ หลังคาบรานอร์ที่พบ
มากจะเป็นบ้านที่มีหลังคาแบบมนิลาหรือบรานอร์ และเพิ่มเติมลายไม้กลมฉลุไม้ที่ส่วนยอดซึ่งพบมากในชุมชนชาว
ไทยมุสลิมหลังคาทั้ง   4    แบบ    มีอยู่ทั่วไปแต่สัดส่วนของหลังคาจะมีทรงสูงต่ำอย่างไรขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างและ
วัสดุมุงหลังคาในท้องถิ่นนั้น    เช่น    ถ้าใช้กระเบื้องดินเผา หรือใช้ กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ มุงแฝกจาก ความ
ลาดชันของหลังคาจะไม่เท่ากัน

     เรือนหลังคาจั่ว
ในชุมชนที่ประกอบอาชีพกสิกรรมและประมงจะปลูกสร้างเรือนหลังคาทรงจั่ว
ไม่มีการตกแต่งหน้าจั่ววัสดุมุงหลังคาส่วนใหญ่ใช้จากแต่บางเรือนที่มีฐานะดีจะ
มุงกระเบื้องเพื่อความมั่นคงแข็งแรง ความลาดชันของหลังคาขึ้นอยู่กับวัสดุมุง
หลังคาในท้องถิ่นนั้นว่าจะใช้กระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องขนมเปียกปูนหรือมุง
แฝกจากเรือนเครื่องผูกหลังคาทรงจั่วปลูกสร้างง่ายด้วยตนเอง โยกย้ายได้ง่ายวัสดุ
หาง่าย เนือนในภาคใต้ไม่มีรั้วบ้านไม้ที่นิยมใช้ในการก่อสร้างเป็นหลักคือ

ไม้เคื่ยมไม้หลุมพอใช้เป็นเสาเป็นรอดส่วนไม้หลาวไม้ค้อไม่ชะโอนใช้ทำโครงสร้างทั่วไป
 ส่วนเรือนเครื่องสับ   สำหรับผู้มีฐานะดีหลังคาจั่วเป็นรูปตรงทรงไม่สูงตกแต่งหน้าจั่วยอด
จั่วมุงนั้นด้วยกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยมเชิงชาย    และช่องลมใต้เพดานแต่งด้วยไม้ฉลุสวยงาม
ตัวเรือนใต้ถุนยกสูงมีระเบียงและนอกชานลดหลั่นกัน

 

      เรือนหลังคาปั้นหยา
มีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาเป็นพิเศษหลังคาตรงหัวท้ายเป็นรูปลาด
เอียงแบบตัดเหลี่ยมหลังคามุงกระเบื้องแผ่นสี่เหลี่ยม  ตรงรอยตัดเหลี่ยมหลังคา
ครอบด้วยกันน้ำฝนรั่ว    หลังคาแบบนี้โครงหลังคาแข็งแรงมากสามารถทนรับ
ฝนและต้านแรงลม หรือพายุไต้ฝุ่นได้ดีมาก ส่วนใหญ่อยู่ทางจังหวัดสงขลา

 

                                                                               เรือนหลังคามนิลา   
หรือแบบรานอร์เป็นการผสมผสานหลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยาคือส่วนหน้าจั่ว
ค่อนข้างเตี้ยจะเป็นจั่วส่วนบนส่วนล่างของจั่วจะเป็นหลังคาลาดเอียงลงมารับกับ หลังคาด้านยาวซึ่งลาดเอียงตลอดเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง เรือนแบบนี้ส่วนใหญ่อยู่
ในจังหวัดปัตตาน

  ลักษณะทั่วไปของเรือนไทยในภาคใต

                      เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตอหม้อตีนเสาซึ่งจะก่ออิฐฉาบปูนเมื่อต้องการจะทำการย้ายบ้านก็จะ
ปลดกระเบื้องลงตีไม้ยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาทแล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งในที่ที่ต้องการนำกระเบื้องขึ้นมุง
ใหม่ ก็สามารถเข้าอยู่ได้ทันทีเรือนไทยในภาคใต้ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ในการก่อสร้างรูปทรงของเรือนเป็นเรือนไม้
ใต้ถุนสูงประมาณคนก้มตัวลอดผ่านได้ เสาทุกต้นไม่ฝังลงดินแต่จะตั้งอยู่บนแผ่นปูนหรือแผ่นหินเรียบ ๆ ที่ฝังอยู่
ในดินให้โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต เพื่อกันมิให้ปลวกกัดตีนเสาและกันเสาผุจากความชื้นของดิน ตีนเสา
ตอนล่างห่างจากพื้นดิน ประมาณ 1- 2 ฟุตจะมีไม้ร้อยทะลุเสาทุกต้นตามความยาวของเรือนทั้ง 3 แถวเพื่อทำหน้า
ที่
ยึดโครงสร้างของเรือนให้แข็งแรงมากขึ้น

                     ตัวเรือนกั้นฝาด้วยแผ่นกระดานตีเกร็ดตามแนวนอน กั้นห้องสำหรับเป็นห้องนอน 1 ห้อง อีกห้องหนึ่ง
ปล่อยโล่ง ด้านหน้าบ้านมีระเบียงด้านข้าง เรือนเครื่องสับในภาคใต้จะทำช่องหน้าต่างแคบ ๆ ในบางแห่งไม่ทำเลย
ก็มีเพราะเกรงฝนสาดเนื่องจากฝนตกชุกและมีลมแรงจัดหลังคาทำทรงจั่วถากจันทันให้แอ่นแบบเดียวกับเรือนไทย
ภาคกลางแต่ทรวดทรงเตี้ยกว่าเล็กน้อย ติดแผ่นปั้นลมแบบหางปลา ไม่นิยมทำตัวเหงา