ประเพณีแห่เทียนพรรษา  เป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี
ได้จัดขึ้นและถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ครั้งโบราณกาล   เพื่อเป็นการเชิดชู
พระพุทธศาสนาส่งเสริมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นในวันเพ็ญเดือน 8 วันอาสาฬหบูชา หรือวัน
เข้าพรรษาซึ่งเป็นวันกำหนดให้พระภิกษุทุกรูปทั้งที่บวชใหม่และบวชมาหลายพรรษาต้องอยู่ประจำ
ในวัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือนในช่วงฤดูฝน ซึ่งกำหนดเป็น 2 ระยะ คือพรรษาแรก หรือ
"ปุริมพรรษา"  เริ่มตั้งแต่วันแรม  1  ค่ำ  เดือน  8  ไปจนถึงวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน 11  และพรรษา
หลัง หรือ "ปัจฉิมพรรษา" เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 แต่ถ้า
ปีใดมีอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ในปีนั้นให้ถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลังเป็นวันเข้าพรรษา
   ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะทำบุญในตอนเช้า  ด้วยการ
   ถวายดอกไม้ธูปเทียนแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อที่พระภิกษุ
   สงฆ์จะนำไปประกอบพิธีทางพุทธศาสนาในโบสถ์
   โดยเฉพาะการถวายเทียนซึ่งชาวพุทธถือว่าการทำบุญ
   ด้วยเทียน ซึ่งให้ความสว่างแก่สาวกของพระพุทธองค์
   ให้ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมจะทำให้ชีวิตของผู้ถวาย
รุ่งโรจน์เช่นเดียวกับแสงสว่างของเปลวเทียน ประเพณีแห่เทียนจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วประเทศชาว
พุทธทั้งหลายก็พยายามตกแต่ง หรือแกะสลักเทียนของตนให้งดงาม จนเกิดการประกวด   "เทียน
พรรษา"
หรือ "ต้นเทียน" กันขึ้น  โดยเทียนที่แกะสลักมักจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับพุทธศาสนา
หรือ พุทธประวัตินอกจากการประกวดขบวนแห่และริ้วขบวนที่แห่เทียนไปรอบเมือง   ก่อนจะนำไป
ถวายเป็นพุทธบูชาตามอุโบสถของวัดวาอารามต่างๆ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้จุดบูชาตลอดระยะเวลา
3 เดือน