ประเพณีทอดกฐินนี้เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลเพราะเป็นประเพณีที่
พุทธศาสนิกชนถือว่าเมื่อได้ทอดกฐิน แล้วจะเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ เป็นผลบุญทั้งในชาตินี้
และชาติหน้า 

	"กฐิน" แปลว่า กรอบไม้สำหรับขึงเย็บผ้าจีวรของพระภิกษุสงฆ์  เรียกว่า  "สดึง"  
เพราะในสมัยโบราณไม่มีจักรเย็บผ้าจึงต้องอาศัยสะดึง เมื่อสำเร็จเป็นผ้ากฐินแล้วจึงได้นำไป
ทอดแก่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือนเรียกว่า "ทอดกฐิน"  
	
	การทอดกฐิน  ก็คือการนำผ้ากฐินไปไว้ต่อหน้าสงฆ์ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป 
โดยมิได้เจาะจงว่าจะถวายภิกษุรูปใด พร้อมกับกล่าวคำถวายกฐินเมื่อจบคำถวายแล้วพระสงฆ์
จะรับพร้อมกันว่า "สาธุ" แล้วผู้เป็นเจ้าภาพหรือเป็นประธานในการทอดกฐินนั้นก็เข้าไปเอาผ้า
ไตรกฐินประเคนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้หรือจะไม่ประเคนเอาไปวางไว้เฉยๆ ก็ได้แล้วต่อจากนั้นก็ 
จัดการถวายเครื่องบริขารต่างๆ ตามที่ได้เตรียมมาต่อจากนั้นพระสงฆ์ก็จะได้จัดการมอบผ้าไตร
กฐินนั้นให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ลงความเห็นแล้วว่าเป็นผู้สมควรจะได้รับผ้านั้นเมื่อท่านทำพิธี
กรานกฐินเสร็จแล้ว ท่านก็จะได้อนุโมทนาต่อไป 
ประเพณีการทอดกฐินอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "จุลกฐิน" ซึ่งถือ
กันว่าได้รับอานิสงส์มากเช่นเดียวกันวิธีทอดต้องไปเก็บเอา
ฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายแล้วทอให้เป็นผืนผ้ากฐินให้เสร็จ  ในวัน
เดียวกัน   แต่การทอดจุลกฐินต้องช่วยกันหลายคน จึงแล้ว
เสร็จในวันเดียว และต้องให้ทันกับเวลาอีกด้วย
ระยะเวลาในการทอดกฐินมีกำหนดตั้งแต่ แรม 1ค่ำ เดือน11 ไปจนถึงกลางเดือน12 มีกำหนด
1  เดือนภายหลังจาก ออกพรรษาแล้วจะทอดก่อนหรือหลังที่กำหนดนี้ไม่ได้ 

วิธีทอดกฐินซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ มี 2  อย่าง  คือ พระอารามใดที่เป็นพระอารามหลวง 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดด้วยพระองค์เองบ้างหรือพระราชทานให้พระบรม
วงศานุวงศ์หรือผู้แทนพระองค์ไปถวายแทนพระองค์บ้าง พระราชทานให้กรมกองต่างๆนำไป
ทอดบ้าง
สำหรับวัดราษฎร์นั้น ชาวบ้านจะจัดการทอดกันเองโดยทำเป็น
กฐินสามัคคี หรือจะทอดแต่ผู้เดียวก็ได้ ก่อนที่จะนำไปทอดนั้น
จะต้องทำการจองกฐินเสียก่อน ป้ายประกาศจองกฐินนั้นจะปิด
ไว้ตั้งแต่ในพรรษา เพื่อจะได้มีผู้พบเห็นและมาร่วม ทำบุญด้วย