ประเพณี  "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดขึ้นในวันเพ็ญ
เดือน  2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า
 "เป็ง" มีควาหมายตรงกับคำว่า  "เพ็ญ"   หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือ
จะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง 
ตรงกับเดือนยี่หรือเดือน  2   ของไทยล้านนา

         ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ  ซึ่งถือว่าเป็น  "วันดา"หรือวันจ่ายของเตรียม
ไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล
ฟังธรรมและทำบุญเลี้ยงพระที่วัดมีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะ
ใส่ของกินของใช้ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจนครั้นถึงคืนวัน
ขึ้น 15  ค่ำ  จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ

ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติ
ตามวัดวาอารามต่างๆ แล้วยังมีการประดับตกแต่งวัดบ้านเรือน
และถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้
ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆขึ้นเป็นพุทธบูชาพอตก
กลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นมากมายมีการแห่โคมทอง
พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะติ๊ด) เพื่อบูชาพระ
รัตนตรัย     การจุดบอกไฟการจุดโคมประดับตกแต่งตามวัดวา
อารามและการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุ
แก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามวัฒนธรรมของล้านนาจะแบ่งโคมไฟออกเป็น 4 แบบ คือ
"โคมติ้ว" หรือ โคมไฟเล็ก ที่ห้อยอยู่กับซีกไม้ไผ่ซึ่งผู้คนจะถือไป
ในขบวนแห่และนำไปแขวนไว้ที่วัด
แบบที่สองเรียก "โคมแขวน" ที่ใช้แขวนบูชาพระพุทธรูปทำเป็น
หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น รูปดาว รูปตะกร้า โดยปกติจะใช้
แขวนตามวัดหรือตามหิ้งพระก็ได้
แบบที่สามเรียก "โคมพัด" ทำด้วยกระดาษสาเป็นรูปกรวยสอง
อันพันรองแกนเดียวกันด้านนอกจะไม่มีลวดลายอะไรส่วนด้าน
ในจะตัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ในทางพุทธศาสนาเมื่อจุดโคม
ด้านในแสงสว่างจะทำให้เกิดเงาบนกรวย ด้านนอกก็จะเคลื่อน
ไหวคล้ายตัวหนังตะลุง
แบบสุดท้ายเรียก "โคมลอย" เป็นโคมใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน
ตัวโครงทำจากซีกไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสาเมื่อจุดโคมความร้อน
จากเปลวไฟจะทำให้โคมลอยตัวขึ้นการปล่อยโคมลอยนี้จะทำกัน
ที่วัดหรือตามบ้านคน โดยเชื่อว่าโชคร้ายทั้งหลายจะลอยไปกับโคม